การประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมต่อเด็กในประเทศไทย

สิ่งแวดล้อมที่ดี #เพื่อเด็กทุกคน

เด็กหญิงกำลังยืนอยู่ท่ามกลางน้ำท่วม บริเวณที่เธอยืนอยู่มีระดับน้ำประมาณข้อเท้าของเธอ แต่ด้านหลังจะเห็นว่ามีผู้ชายกำลังเดินออกมาจากซอย ซึ่งระดับน้ำบริเวณนั้นอยู่ประมาณหัวเข่า
UNICEF Thailand/2019/Preechapanich

ไฮไลต์

รายงานการประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมต่อเด็กในประเทศไทย โดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ฉบับนี้ได้ชี้ให้เห็นว่าเด็ก ๆ ทีเปราะบางต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาทิ ภัยแล้ง คลื่นความร้อน และน้ำท่วม มากที่สุด อาศัยอยู่ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหลือและภาคใต้ของประเทศไทย แผนที่ความเสี่ยงจากการศึกษาฉบับนี้เผยให้เห็น 10 จังหวัด (อุบลราชธานี นครราชสีมา ศรีษะเกษ นครศรีธรรมราช นาราธิวาส สุรินทร์ สงขลา บุรีรัมย์ ขอนแก่น และสุราษฎร์ธานี) มีความเสี่ยงสูงต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศระหว่างปี พ.ศ. 2559 - 2578 โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์ RCP4.5 (มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับปานกลาง)

การศึกษาชิ้นนี้ได้เสนอแนะนโยบายที่ให้ความสำคัญกับเด็กเพื่อลดผลกระทบจากปัญหาเหล่านี้ ได้แก่ การเสริมสร้างความตระหนักรู้และความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้แก่เด็ก การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในสถานศึกษาและสถานพยาบาลที่รองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ให้ความสำคัญกับเด็ก

หน้าปกรายงานฉบับภาษาอังกฤษ ชื่อ "Impact Assessment of Climate Change and Environmental Degradation on Children in Thailand".
ผู้แต่ง
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)
วันที่ตีพิมพ์
ภาษา
อังกฤษ, ไทย