เพจ
เป้าหมายของยูนิเซฟ
วิสัยทัศน์ของยูนิเซฟสำหรับประเทศไทยในปี 2569

- พร้อมใช้งานใน:
- English
- ไทย
เป้าหมายของยูนิเซฟคือเด็กทุกคนในประเทศไทย โดยเฉพาะกลุ่มด้อยโอกาสที่สุด ได้รับการเคารพสิทธิและได้พัฒนาตัวเองเต็มศักยภาพ
เด็กในวัย 0-6 ปี จำนวนมากขึ้น มีพัฒนาการที่สมวัยและพร้อมเข้าโรงเรียน
- ด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยเพื่อให้การสนับสนุนและบริการที่มีคุณภาพและมีการเชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ด้วยการส่งเสริมบทบาทของครอบครัวในการสนับสนุนพัฒนาการของเด็กและการส่งเสริมบทบาทของภาครัฐและสังคมในการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยสำหรับครอบครัว
- ด้วยการส่งเสริมบริการและการสนับสนุนการพัฒนาเด็กปฐมวัยแบบถ้วนหน้า และการลดอุปสรรคในการเข้าถึงบริการของกลุ่มเปราะบางที่สุด
เด็กชายและหญิงจำนวนมากขึ้นได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม โดยมีผลการเรียนรู้ที่ดีขึ้นและสามารถนำไปใช้ได้จริง
- ด้วยการยกระดับการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะในช่วงขวบปีแรก ๆ ของชีวิต
- ด้วยการพัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน
- ด้วยการส่งเสริมการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
- ด้วยการพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ชีวิตการทำงาน
เยาวชนจำนวนมากขึ้น เข้าถึงบริการด้านสุขภาพและโอกาสในการมีงานทำ และได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเพื่อสร้างสังคมที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ยืดหยุ่นและครอบคลุมความหลากหลายยิ่งขึ้น
- ด้วยการพัฒนานโยบายและบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของเด็ก
- ด้วยการพัฒนาทักษะและความสามารถในการทำงานของเยาวชนเพื่อเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ชีวิตการทำงาน
- ด้วยการยกระดับการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการตัดสินใจและการพัฒนาบริการในด้านสังคม การจัดหางาน การศึกษา และสุขภาพ ให้สอดคล้องกับความต้องการของเด็กผู้หญิง
เด็กจำนวนมากขึ้นได้รับการปกป้องคุ้มครองที่ดีขึ้นจากการใช้ความรุนแรง การแสวงประโยชน์ การล่วงละเมิด การละเลยทอดทิ้ง และการต้องแยกจากครอบครัวโดยไม่จำเป็น
- ด้วยการยกระดับบริการสังคมและกำลังเจ้าหน้าที่ รวมทั้งการบริหารจัดการข้อมูล เพื่อการคุ้มครองกลุ่มเปราะบางที่สุด
- ด้วยการยกระดับการป้องกันและการเฝ้าระวังความรุนแรงและการแสวงประโยชน์ ซึ่งรวมถึงการล่วงละเมิดทางออนไลน์
เด็กจำนวนมากขึ้นได้รับประโยชน์จากระบบการคุ้มครองทางสังคมที่ทั้งอยู่บนพื้นฐานข้อมูล พร้อมรับมือกับวิกฤต มีการบูรณาการอย่างครบวงจรและครอบคลุม
- ด้วยการพัฒนาและการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลและผลการศึกษาวิจัยในการกำหนดนโยบายและการปรับปรุงระบบการติดตามและประเมินผล
- ด้วยการออกแบบระบบการคุ้มครองทางสังคมที่มีการเชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สามารถตอบสนองต่อภาวะวิกฤติและสถานการณ์ฉุกเฉิน
- ด้วยการส่งเสริมและการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดสรรและการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเด็ก