รายงานการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย 12 จังหวัด

รายงานฉบับนี้ประกอบไปด้วยข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการสำรวจ และตารางมาตรฐานของรายงานสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย 12 จังหวัด

ภาพของผู้หญิงและเด็กสองคนภายในห้องที่มีโครงเป็นไม้และผนังเป็นคอนกรีต ผู้หญิงสวมชุดลายชนเผ่า เด็กคนทางซ้ายสวมเสื้อสีขาว เด็กคนทางขวาสวมเสื้อที่มีสีสันต่างๆ พื้นหลังของภาพเป็นประตูและผนังคอนกรีต ที่มีแสงธรรมชาติสาดส่องเข้ามา
UNICEF Thailand/2022/Roisri

ไฮไลต์

นับตั้งแต่เริ่มต้นจัดทำขึ้นมาในช่วงกลางทศวรรษที่ 1990 รายงาน Multiple Indicator Cluster Survey หรือที่รู้จักในชื่อ MICS ได้กลายเป็นแหล่งข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับเด็กและสตรีทั่วโลกที่ใหญ่ที่สุดและสามารถนำมาใช้เปรียบเทียบได้ในระดับนานาชาติ รายงาน MICS นี้เป็นส่วนสำคัญของแผนและนโยบายของรัฐบาลหลายแห่งทั่วโลก และเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญสำหรับตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) มากกว่า 30 ตัวชี้วัด ซึ่งรายงาน MICS ได้ถูกนำมาใช้ในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2548 ในชื่อ การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย

สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สนช.) ได้ทำการเก็บข้อมูลสำหรับโปรแกรม Thailand 2022 MICS โดยการสนับสนุนจากยูนิเซฟ ทีมลงพื้นที่หน้างานที่ได้รับการฝึกอบรมมาอย่างดี และทำการสัมภาษณ์ครอบครัวกว่า 34,000 ครัวเรือนทั่วประเทศ รวมถึงพื้นที่ห่างไกล เพื่อเก็บข้อมูลตัวชี้วัดกว่า 130 ตัว ในด้านต่างๆ ได้แก่ สุขภาพ โภชนาการ การพัฒนา การศึกษา การคุ้มครองเด็กและสตรี 

 

เอกสารช่องว่างและความเหลื่อมล้ำของเด็กและสตรี​ (รายจังหวัด)

นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา
สตูล ระนอง นครราชสีมา ศรีสะเกษ
กาฬสินธุ์ นครพนม ตาก แม่ฮ่องสอน
ภาพหน้าปกรายงาน การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีใน 12 จังหวัดของประเทศไทย พ.ศ. 2565
ผู้แต่ง
สำนักงานสถิติแห่งชาติ
วันที่ตีพิมพ์
ภาษา
อังกฤษ, ไทย

ไฟล์พร้อมสำหรับดาวน์โหลด