ผู้อธิบาย
พัฒนาการของลูกน้อยเมื่ออายุ 2 เดือน
ทุกสิ่งที่คุณควรรู้เมื่อลูกน้อยอายุได้ 2 เดือน

- พร้อมใช้งานใน:
- English
- ไทย
ลูกน้อยวัย 2 เดือนของคุณจะช่างสงสัยและอยากรู้อยากเห็น ยิ้มแย้มกับผู้คน และสนใจทุกสิ่งรอบตัว สนใจสังคมและชอบมีปฏิสัมพันธ์ การเติบโต การเรียนรู้ และการเปลี่ยนแปลงของเจ้าตัวน้อยของคุณในช่วงวัยบริสุทธิ์นี้ คือ
พัฒนาการด้านสังคมและอารมณ์ของลูกน้อยวัย 2 เดือน
พัฒนาการด้านสังคมและอารมณ์ของลูกน้อยวัย 2 เดือน
เมื่อเจ้าตัวน้อยอายุได้ประมาณ 2 เดือน คุณจะเริ่มเห็นลูกเรียนรู้ที่จะสื่อสารกับคนอื่นรอบตัวโดยการ
- ดูดมือเพื่อให้ตัวเองสบายใจ
- เริ่มยิ้มให้กับคนอื่น
- พยายามที่จะมองคุณพ่อคุณแม่
เคล็ดลับสำหรับพ่อแม่
- สร้างความใกล้ชิดโดยสัมผัสกับลูกน้อยแบบเนื้อแนบเนื้อ ไออุ่นจากตัวคุณจะช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลาย
- อุ้มลูกขึ้นมาใกล้ ๆ ใบหน้าของคุณและสบตาเพื่อให้เขาคุ้นเคยกับคุณ
พัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสารของลูกน้อยวัย 2 เดือน
พัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสารของลูกน้อยวัย 2 เดือน
ลูกของคุณจะเริ่มมีส่วนร่วมและแสดงความต้องการโดยการ
- ตื่นตัวเมื่อได้ยินเสียงและหันไปทางต้นเสียง
- ทำเสียงอ้อแอ้
เคล็ดลับสำหรับพ่อแม่
- “คุย” กับลูกเมื่อเขาทำเสียงอ้อแอ้โดยใช้เสียงแบบทารก การโต้ตอบกันไปมานี้เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยให้ลูกพัฒนาภาษาและทักษะการสื่อสาร
พัฒนาการด้านสมองของลูกน้อยวัย 2 เดือน
พัฒนาการด้านสมองของลูกน้อยวัย 2 เดือน
สมองของเจ้าตัวน้อยกำลังเติบโต!
- เริ่มมองตามผู้คนและวัตถุ
- เริ่มมีอาการหงุดหงิดเมื่อรู้สึกเบื่อ
- สนใจใบหนน้าที่ได้เห็น
เคล็ดลับสำหรับพ่อแม่
- เรียกชื่อของคนหรือสิ่งของที่ลูกน้อยทำท่าสนใจ
พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวและร่างกาของลูกน้อยวัย 2 เดือน
พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวและร่างกาของลูกน้อยวัย 2 เดือน
ลูกน้อยขยับตัวไปรอบๆ ได้อย่างไร
- การเคลื่อนไหวของแขนและขาราบรื่นขึ้น
- ชันคอตั้งได้ขณะที่กำลังนอนคว่ำอยู่
เคล็ดลับสำหรับพ่อแม่
- ใช้เวลากับเจ้าตัวน้อยโดยหันหน้าเข้าหาและพูดคุยด้วยในขณะที่ลูกนอนคว่ำไว้ตรงหน้าคุณ
- กระตุ้นให้ลูกน้อยขยับศีรษะ แขนและขา โดยนำของขยับของเล่นที่ปลอดภัยไปรอบ ๆ ตัวเขา
อาหารและโภชนาการของลูกน้อยวัย 2 เดือน
อาหารและโภชนาการของลูกน้อยวัย 2 เดือน
การรับประทานอาหารสำหรับเด็กอายุ 2 เดือน
- นมแม่มีสารอาหารทุกชนิดที่จำเป็นสำหรับทารก
- ทารกจะดูดและกลืนได้ง่ายระหว่างการให้นม
- ลิ้นของทารกจะชักเข้าออกเพื่อดูดนม
- ปากของทารกจะประกบติดกับหัวนมของแม่หรือขวดนม
เคล็ดลับสำหรับพ่อแม่
- คุณจะเห็นว่าทารกมีอาการหิว 8 ถึง 12 ครั้งใน 24 ชั่วโมง ทารกแรกเกิดต้องรับประทานให้มากเพราะเขาอยู่ในช่วงเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยจะมีน้ำหนักเป็นสองเท่าของน้ำหนักแรกเกิดใน 6 สัปดาห์หรือเร็วกว่านั้น
ข้อควรสังเกต
ข้อควรสังเกต
ถึงแม้ทารกวัย 2 เดือนแต่ละคนจะมีพัฒนาการแตกต่างกัน แต่คุณควรปรึกษากุมารแพทย์หากเจ้าต้วน้อยของคุณมีอาการต่อไปนี้
- ประกบปากกับเต้านมหรือขวดนมไม่ได้ขณะกินนม
- น้ำนมแม่หรือนมชงไหลออกจากมุมปากจำนวนมากขณะดูดนม
- ไม่ยิ้มให้กับผู้คน
- ไม่เอามือเข้าปาก
- ไม่ตอบสนองต่อเสียงดัง
- ไม่มองตามคนอื่นหรือวัตถุที่เคลื่อนไหว
- ชันคอให้ตั้งขณะนอนคว่ำไม่ได้