3 แนวทางเพื่อจูงใจให้คนทำงานรุ่นใหม่ทำงานกับองค์กร
ควรพิจารณาองค์ประกอบสามประการเหล่านี้ขณะเตรียมสถานประกอบการสำหรับคนรุ่นใหม่

- พร้อมใช้งานใน:
- English
- ไทย
จัดเตรียมพื้นที่ในสถานประกอบการด้วยมุมมองที่ว่า การเติบโตของคนรุ่นใหม่มีความสำคัญซึ่งองค์กรสามารถใช้ประโยชน์จากความคิดก้าวหน้าและความสามารถในการปรับเปลี่ยนของพวกเขาได้ เมื่อคุณส่งเสริมจรรยาบรรณในการทำงานที่เหมาะสมและแรงจูงใจในองค์กรแก่คนรุ่นใหม่ ท้องฟ้าก็ไร้ซึ่งขอบเขต ขณะเดียวกัน คุณอาจหลีกเลี่ยงคนรุ่นใหม่ที่คิดว่า การเป็น ‘คนดัง’ คืออาชีพหนึ่ง! การขจัดอุปสรรคระหว่างธุรกิจกับคนรุ่นใหม่ควรเป็นความสำคัญอันดับต้นๆ ของทั้งนายจ้างและพนักงานเพื่อตอบสนองถึงความเปลี่ยนแปลง
เมื่อคุณส่งเสริมจรรยาบรรณในการทำงานที่เหมาะสมและแรงจูงใจในองค์กรแก่คนรุ่นใหม่ ท้องฟ้าก็ไร้ซึ่งขอบเขต
ควรพิจารณาองค์ประกอบสามประการเหล่านี้ขณะเตรียมสถานประกอบการสำหรับคนรุ่นใหม่:
1 - การฝึกอบรม
ในหลายประเทศนั้น พบการจับคู่แบบผิดฝาผิดตัวระหว่างการศึกษา ทักษะและการฝึกอบรมที่คนรุ่นใหม่ได้รับ รวมทั้งความต้องการของธุรกิจและตลาดแรงงาน ซึ่งบางอุตสาหกรรมกำลังเผชิญกับการขาดแคลนแรงงาน แม้ว่าอัตราการว่างงานของเยาวชนมีตัวเลขสูงในประเทศเหล่านั้นก็ตาม เช่นเดียวกับกรณีของประเทศไทย การสำรวจ School-to-Work Transition ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) แสดงให้เห็นว่า กว่าครึ่งของคนรุ่นใหม่มีทักษะไม่สอดคล้องกับความต้องการแรงงาน
ดังนั้น การฝึกอบรมจึงเป็นหัวใจสำคัญของแรงงานหน้าใหม่ชาวมิลเลนเนียล เนื่องจากพวกเขาเปรียบเหมือนกระดาษที่ว่างเปล่า พวกเขาไม่มีพฤติกรรมเก่าๆ แบบแย่ๆ เหมือนพนักงานที่มีประสบการณ์แล้ว พวกเขาไม่มีอัตตาที่เป็นผลมาจากประสบการณ์ก่อนหน้า ซึ่งอาจเป็นความท้าทายสำหรับผู้จัดการหรือเพื่อนร่วมงาน อีกทั้งแรงงานรุ่นใหม่สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้ดีอย่างมีความสุขอีกด้วย

ยิ่งไปกว่านั้น พนักงานรุ่นใหม่ยังสามารถเข้ารับการฝึกอบรมที่ตรงความต้องการทางธุรกิจเฉพาะของคุณ หากโอกาสในการฝึกอบรมพนักงานรุ่นใหม่สร้างความยุ่งยาก คุณอาจจัดทำสื่อการฝึกอบรมของพนักงานเพื่อแก้ปัญหาการต่อต้านของพนักงานรุ่นใหม่และสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในสถานประกอบการ
เนื่องจากผู้สมัครงานของคุณมีแนวโน้มจะเป็นคนรุ่นมิลเลนเนียล หากไม่มีการเตรียมการไว้ก่อน ธุรกิจของคุณอาจประสบปัญหาได้ ซึ่งแผนงานการฝึกอบรมที่มีประสิทธิภาพอาศัยเวลาและงบประมาณในการดำเนินการล่วงหน้า แต่สิ่งเหล่านี้ช่วยให้คุณสามารถดูแลพนักงานรุ่นเยาว์ที่ไม่มีประสบการณ์ (ที่จะกลายเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพ) ได้
2 - การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
เมื่อคุณว่าจ้างคนรุ่นใหม่ วัฒนธรรมองค์กรของคุณจะต้องเป็นมิตรกับพวกเขาด้วย สื่อสารให้พนักงานเหล่านี้ทราบว่า คุณให้ความสำคัญกับความคิดของพวกเขาและพวกเขาไม่ได้เป็นแค่ฟันเฟืองเล็กๆ คนหนึ่ง ขณะเดียวกัน สร้างความเชื่อมั่นว่า วัฒนธรรมองค์กรจะได้รับการอธิบายและมีความชัดเจนซึ่งปรากฏชัดในหลักการของคุณ คนรุ่นใหม่ก็เช่นเดียวกับคนรุ่นอื่นๆ พวกเขายอมรับ “ความรู้สึกมีส่วนร่วมหรือคู่ควร” ซึ่งหากพนักงานเห็นพ้องกับวัฒนธรรมขององค์กร คุณจะมีโอกาสสร้างพนักงานที่มีความภักดีต่อองค์กรและกระตือรือร้นเพิ่มมากขึ้น
3 – การฝึกงานและการจัดการแผนงานพนักงานฝึกหัด
แนวทางหนึ่งในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรแก่คนรุ่นใหม่คือการมีแผนฝึกงานหรือแผนงานพนักงานฝึกหัด เมื่อตัดสินใจว่าจะมีพนักงานหรือนักศึกษาฝึกงานในองค์กร ให้พิจารณาพื้นที่สื่อใหม่ๆ ที่คนรุ่นใหม่ใช้งาน เมื่อคุณได้วิธีการในการหาทักษะใหม่ๆ แล้ว คุณจะต้องมีแผนการฝึกงานหรือพนักงานฝึกหัดที่ควรค่าแก่การสมัคร
ทั้งการฝึกหัดและการฝึกงานคือการจัดการฝึกอบรมเกี่ยวกับงานแก่แรงงานรุ่นใหม่ ซึ่งอาจนำไปสู่การจ้างงานในอนาคต ด้วยการฝึกหัดและการฝึกงานที่มีค่าตอบแทน คุณสามารถถ่ายทอดความรู้และทักษะให้แก่แรงงานรุ่นใหม่

โอกาสการฝึกงานที่ยูนิเซฟช่วยให้ฉันมีความชัดเจนยิ่งขึ้นเกี่ยวกับอาชีพในฐานะที่เพิ่งจบจากมหาวิทยาลัยและไม่แน่ใจว่าจะมุ่งไปที่ธุรกิจใด เพื่อนร่วมงานได้ช่วยให้ฉันนิยามตัวเองในฐานะนักวิชาชีพและฉันสนุกกับความท้าทายนี้!
แผนงานเหล่านี้เปิดโอกาสให้คุณตัดสินใจด้านการจ้างงาน ขณะที่คุณรับพนักงานรุ่นใหม่เข้ามาในองค์กร พนักงานคนเก่าจะทำงานใกล้ชิดกับคนรุ่นใหม่เหล่านี้ ซึ่งแต่ละฝ่ายจะสามารถเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
การฝึกหัดคือแผนงานอบรมระยะยาว บางครั้งอาจใช้เวลาหลายปี ซึ่งการฝึกหัดมักเกี่ยวข้องกับการพาณิชย์หรือสาขาวิชาอื่นๆ แต่ก็ไม่ใช่เสมอไป การฝึกหัดมีเป้าหมายเพื่อฝึกฝนพนักงาน ดังนั้น เมื่อแผนงานฝึกหัดสิ้นสุดลง พนักงานจะมีความพร้อมทำงานตามสาขาที่ฝึกหัดมา ซึ่งเมื่อสิ้นสุดการฝึกหัด คุณสามารถว่าจ้างพนักงานคนนั้นได้ ทั้งนี้ การฝึกหัดไม่ได้เหมาะสมกับธุรกิจทุกประเภท หากแต่มีคุณค่าแก่ธุรกิจที่มีความเหมาะสมอยู่
ส่วนใหญ่แล้ว การฝึกงานเป็นประสบการณ์ระยะสั้นซึ่งใช้เวลาสองถึงสามเดือน เมื่อกำหนดแผนการฝึกงาน ควรออกแบบเพื่อให้คนรุ่นใหม่สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพที่พวกเขาสนใจด้วย แผนการฝึกงานช่วยให้แรงงานรุ่นใหม่มีประสบการณ์สำหรับอนาคตและงานระยะยาวของตน ซึ่งแผนการฝึกงานเป็นแนวทางที่ดีในการสร้างเสริมทักษะก่อนการว่าจ้าง อย่างไรก็ตาม ผู้ฝึกงานจำนวนมากไม่ได้มองหางานเต็มเวลานอกเหนือไปจากเพิ่มพูนประสบการณ์ของตัวเอง
ผู้ว่าจ้างสามารถออกแบบระเบียบปฏิบัติเพื่อให้องค์กรและคนรุ่นใหม่สามารถค้นหาว่า พวกเขาเหมาะสมกับงานอะไร ซึ่งการจัดการแผนการฝึกงานเมื่อมีการว่าจ้างคนรุ่นใหม่ในช่วงเวลาเฉพาะและมีโอกาสหมุนเวียนไปยังแผนกต่างๆ เพื่อดูว่าที่ไหนจะเหมาะสมกับพวกเขาที่สุด ซึ่งเมื่อสิ้นสุดการฝึกงาน ทั้งองค์กรและผู้ที่ฝึกงานจะเลือกว่า แต่ละฝ่ายเหมาะสมกับตนหรือไม่
รายละเอียดเกี่ยวกับบทความชุดนี้
บทความชุดนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการรณรงค์ “Dare to Dream: ปลุกพลังฝัน เปลี่ยนอนาคต” ของยูนิเซฟซึ่งมีเป้าหมายเพื่อรับฟัง รวบรวมความเห็นและความเข้าใจเชิงลึกของคนรุ่นใหม่เพื่อทำความเข้าใจว่า ทักษะใดบ้างที่สำคัญกับชีวิตประจำวันของพวกเขา และแนวทางหรือกระบวนการสอนแบบไหนที่สามารถสร้างแรงจูงใจหรือส่งเสริมการมีส่วนร่วมของนักเรียนในการพัฒนาทักษะเหล่านี้เพื่อหนทางสู่โอกาสการจ้างงาน สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถดูได้จาก www.unicef.or.th/daretodream