โครงการห้องสมุดเคลื่อนที่
นวัตกรรมที่มุ่งสร้างผลแก่เด็กด้อยโอกาสทางการศึกษามากที่สุดในประเทศไทย

โครงการห้องสมุดเคลื่อนที่ในพื้นที่ชายแดนห่างไกลขององค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย เป็นนวัตกรรมที่มุ่งสร้างผลแก่เด็กด้อยโอกาสทางการศึกษามากที่สุดในประเทศไทย โดยโครงการนี้ที่ต่อยอดมาจากการดำเนินงานที่ผ่านมา (และต่อเนื่อง) ของ องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย เกี่ยวกับเด็กชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์ที่ไม่ได้เข้าโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลของจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ในปี พ.ศ. 2549 องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย เริ่มทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเพื่อเข้าถึงเด็กผ่านเครือข่าย “โรงเรียนเขตพื้นที่” ในพื้นที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอน 1 และผ่านระบบโรงเรียนพี่โรงเรียนน้องในพื้นที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แม่ฮ่องสอน 2 ซึ่งการดำเนินโครงการเหล่านี้และการเปลี่ยนแปลงด้านการบริหารจัดการอื่นๆ ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ด้านการศึกษา ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอนยืนยันอัตราการลงทะเบียนเรียนของเด็กประถมศึกษาได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือเป็นความสำเร็จอันสำคัญยิ่ง

อย่างไรก็ตาม การลงทะเบียนเข้าเรียนในโรงเรียนเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสภาวะแวดล้อมทางการศึกษาของเด็ก ในปี พ.ศ. 2558-2559 ยูนิเซฟได้สนับสนุนสำนักงานสถิติแห่งชาติในการจัดทำการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2558-2559 (MICS) เพื่อตรวจสอบการสนับสนุนการศึกษาที่บ้าน โดยเก็บข้อมูลด้าน การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง และ “ร้อยละของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งมีหนังสือเด็ก 3 เล่มหรือมากกว่านั้น” ผลการสำรวจ ไม่เป็น ที่น่ายินดีเท่าไรนัก โดยมีเด็กเพียง 31 เปอร์เซ็นต์ในจังหวัดตาก และ 29.6 เปอร์เซ็นต์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเข้าตามเกณฑ์ หนังสือสามเล่มนี้ (เทียบกับ 60 เปอร์เซ็นต์ในกรุงเทพฯ) ดังนั้น องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย จึงเริ่มหาทางส่งเสริมให้เด็กที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลได้เข้าถึงหนังสือหลากหลายยิ่งขึ้น
ด้วยความร่วมมือกับท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต, องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอน 1 และ 2 ได้เปิดตัวโครงการห้องสมุดเคลื่อนที่ในปี พ.ศ. 2559 โดยมีเป้าหมายเพื่อจัดหาวัสดุเอกสารการอ่านที่ดึงดูดใจเด็กในโรงเรียน รัฐบาลที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ และอาศัยอยู่ในครัวเรือนที่มีหนังสือไม่กี่เล่ม หรือไม่มีหนังสือเลย รถบรรทุกขับเคลื่อนสี่ล้อที่ใช้ เพื่อขับข้ามเส้นทางป่า ได้รับการออกแบบแบ่งส่วนกั้นแยกเพื่อติดตั้งชั้นวางหนังสือ ซึ่งสามารถแสดงหนังสือขณะเดียวกันก็จัด เก็บไม่ให้หนังสือกระจัดกระจายได้ รถบรรทุกแต่ละคันมีเจ้าหน้าที่ได้แก่ คนขับ และ “เจ้าหน้าที่บริการสื่อ” ที่ได้รับการอบรม และว่าจ้างโดยองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย เพื่อดำเนินกิจกรรมการอ่านร่วมกับเด็กๆ

จากความสำเร็จของโครงการห้องสมุดเคลื่อนที่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน โครงการจึงได้มีการพิจารณาขยายให้ครอบคลุมจังหวัดตาก โดยองค์การยูนิเซฟ และภาคีความร่วมมือจากท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต รถบรรทุกสำหรับจังหวัดตากจึงได้เข้าร่วม “ขบวน” โครงการ ห้องสมุดเคลื่อนที่เพื่อปฏิบัติการครอบคลุม “โรงเรียนสาขา” 12 แห่งที่เชื่อมโยงกับ “โรงเรียนแม่” ขนาดใหญ่ ในขณะที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน รถบรรทุกห้องสมุดเคลื่อนที่ครอบคลุมโรงเรียน 40 แห่ง โดยสิ้นปี พ.ศ. 2561 รถบรรทุกห้องสมุดเคลื่อนที่ได้ปฏิบัติการเข้าถึงเด็กกว่า 5,000 คนในจังหวัดตากและแม่ฮ่องสอน
ต่อมาองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ได้มีการปรึกษาหารือกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการที่จะให้มี นวัตกรรมส่งเสริมการรู้หนังสือในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และได้รับการแนะนำว่าการดำเนินการในพื้นที่จังหวัดเลย น่าจะทำให้สามารถเข้าถึงโรงเรียนขนาดเล็กที่ขาดแคลนอุปกรณ์ และสื่อในการส่งเสริมการอ่านของเด็ก ๆ ในพื้นที่ห่างไกล ได้ดีขึ้น องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ได้ให้ความความสนับสนุนเฉพาะการจัดหายานพาหนะ และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา จังหวัดเลย เขต 2 ยินดีใช้งบประมาณของเขตครอบคลุมค่าซ่อมบำรุงหนังสือ และคนขับ โดยให้ศึกษานิเทศก์เป็น “เจ้าหน้าที่บริการสื่อ” บนรถ ห้องสมุดเคลื่อนที่ ซึ่งรูปแบบการดำเนินโครงการในจังหวัดเลยนับเป็นขั้นตอนรูปธรรมสู่ความ ยั่งยืนในการจัดการงบประมาณ ทั้งนี้โครงการในจังหวัดเลย ซึ่งเริ่มในเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 มุ่งช่วยเหลือผู้ที่ใช้ภาษาไทย เป็นภาษาแม่ในโรงเรียนขนาดเล็ก 95 แห่ง ครอบคลุมเด็กจำนวนกว่า 10,000 คนในพื้นที 6 อำเภอของ จังหวัดเลย ได้แก่ วังสะพุง, ผาขาว, ภูกระดึง, เอราวัณ, หนองหิน และ ภูหลวง